เมนู

2. อลคัททูปมสูตร


[274] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้ บังเกิด
ขึ้นแก่อริฏฐภิกษุ ผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสแล้วว่าเป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตราย
แก่ผู้ส้องเสพได้จริง ภิกษุมากหลายได้ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ทิฏฐิอันชั่วเห็นปาน
นี้ บังเกิดแก่อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเเล้ว. โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตราย
แก่ผู้ส้องเสพได้จริง ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปหาอริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของ
คนฆ่าแร้ง แล้วได้กล่าวกะเธอว่า ท่านอริฏฐะ ได้ยินว่า ทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้
บังเกิดขึ้นแก่ท่านว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดย
ประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย
ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ดังนี้จริงหรือ อริฏฐ
ภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งรับว่า จริง ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถ
ทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้อง
อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้ง จากทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนั้น จึงซักไซ้

ไล่เลียง สอบสวนด้วยกล่าวว่า ท่านอริฏฐะ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย อย่า
กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ดีดอก เพราะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสอย่างนี้ ท่านอริฏฐะ ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตรายโดยอเนกปริยาย ก็แหละธรรม
เหล่านั้นสามารถทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง พระผู้มีพระเจ้าตรัสกามทั้ง
หลายซึ่งมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้น
มีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยร่างกระดูกมีทุกข์
มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ. . . พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลาย
มีอุปมาด้วยคบหญ้า. . . พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยหลุม
ถ่านเพลิง. . .พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยความฝัน. . .พระผู้
มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยของขอยืม. . . พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
กามทั้งหลายมีอุปมาด้วยผลไม้...พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วย
เขียงหั่นเนื้อ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยหอกและหลาว...
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความ
คับเเค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของ
คนฆ่าแร้ง ถูกภิกษุเหล่านั้นซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่แม้อย่างนี้แล ก็ยัง
กล่าวยึดมั่นทิฏฐิอันชั่วนั้นเองด้วยกำลังทิฏฐิว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำ
อันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง.
[275] กาลใดแล ภิกษุเหล่านั้น ไม่สามารถจะปลดเปลื้องอริฏฐ
ภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งจากทิฏฐิอันชั่วนั้น กาลนั้น ภิกษุเหล่านั้น

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้
บังเกิดขึ้นแก่อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าเเร้งว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำ
อันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้
ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้บังเกิดขึ้นแก่อริฏฐภิกษุ ทีนั้นแล
ข้าพระองค์ทั้งหลาย เข้าไปหาอริฏฐภิกษุแล้ว ได้กล่าวว่า ท่านอริฏฐะ ได้ยินว่า
ทิฏฐิอันชั่วเห็นปานนี้บังเกิดขึ้นแก่ท่านว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า
เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพ
ได้จริง ดังนี้ จริงหรือ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว อริฏฐภิกษุ
ได้กล่าวกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตราย
แก่ผู้ส้องเสพได้จริง ที่นั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายปรารถนาจะปลดเปลื้องอริฏฐ
ภิกษุจากทิฏฐิอันชั่วนั้น จึงซักไซ้ไล่เลียง สอบสวน ด้วยกล่าวว่า ท่านอริฏฐะ
ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า การกล่าวตู่พระ-
ภาคเจ้าไม่ดีดอก เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสอย่างนี้ ท่านอริฏฐะ ธรรม
ทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำอันตรายโดยอเนก-
ปริยาย ก็แหละธรรมเหล่านั้นสามารถทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลายซึ่งมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น
มาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลายมี

อุปมาด้วยร่างกระดูก ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วย
ศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริฏฐภิกษุถูกข้าพระองค์ทั้งหลายซักไซ้ ไล่เลียง สอบ
สวนอยู่แม้อย่างนี้แล ก็ยังกล่าวยึดมั่นทิฏฐิอันชั่วนั้นเอง ด้วยกำลังทิฏฐิว่า
ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดย
ประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่ง
อันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ กาลใดแล ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่สามารถจะปลดเปลื้อง
อริฏฐภิกษุจากทิฏฐิอันชั่วนั้น กาลนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย จึงกราบทูลเนื้อ
ความนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
[276] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาว่า
มานี่ภิกษุ เธอจงเรียกอริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งมาตามคำของเราว่า
พระศาสดาเรียกท่าน. ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงเข้าไปหา
อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ท่านอริฏฐะ พระ-
ศาสดาเรียกท่าน อริฏฐภิกษุรับคำภิกษุนั้น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะอริฏฐ
ภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า อริฏฐะ ได้ยินว่า ทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้
บังเกิดขึ้นแก่เธอว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดย
ประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่ง
อันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง ดังนี้ จริง
หรือ. อริฏฐภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ถึงธรรม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำ

อันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอรู้ถึง
ธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ แก่ใครเล่า ธรรมทั้งหลายเรากล่าวว่าเป็นธรรม
กระทำซึ่งอันตรายโดยอเนกปริยายมิใช่หรือ ก็แหละ ธรรมเหล่านั้นสามารถ
ทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง เรากล่าวกามทั้งหลายซึ่งมีความยินดีน้อย
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง เรากล่าวกาม
ทั้งหลายมีอุปมาด้วยร่างกระดูก...มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ. . . มีอุปมาด้วยคบหญ้า...
มีอุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง... มีอุปมาด้วยความฝัน... มีอุปมาด้วยของขอยืม...
มีอุปมาด้วยผลไม้... มีอุปมาด้วยเขียงหั่นเนื้อ... มีอุปมาด้วยหอกและหลาว... มี
อุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมิอยู่
อย่างยิ่ง โมฆบุรุษ เธอกล่าวตู่เรา ขุดตนเองและประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก
ด้วยทิฐิอันชั่ว อันตนถือเอาชั่วแล้ว กรรมนั้นแลจักมีแก่เธอเพื่อสิ่งไม่เป็น
ประโยชน์เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้นนั้นเป็นไฉน เออ
ก็อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ เเม้จะกระทำญาณให้สูงขึ้นในพระ-
ธรรมวินัยนี้ได้หรือ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความสูง
ขึ้นแห่งญาณอะไรเล่า จะพึงมีได้ ก็ความสูงขึ้นแห่งญาณนั้นจักมีไม่ได้เลย.
เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลอย่างนี้แล้ว อริฏฐภิกษุเป็นผู้นิ่งเก้อเขินนั่งคอตกก้ม
หน้าซบเซา หมดปฏิภาณ.
[277] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า อริฏฐภิกษุ
เป็นผู้นิ่งเก้อเขินคอตกก้มหน้าซบเซาหมดปฏิภาณ จงได้ตรัสกะอริฏฐภิกษุว่า
ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันชั่วของตนนั้นเองแล เราจักสอบ
ถามภิกษุทั้งหลายในที่นี้ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาว่า ภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายรู้ถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ โดย

ประการที่อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ กล่าวตู่เรา ขุดตนเองและ
ประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยทิฎฐิอันชั่ว อันตนถือเอาชั่วแล้วดังนี้ หรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า ด้วยว่าธรรม
ทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย โดยอันเนกปริยาย
ว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ก็แหละ ธรรมเหล่านั้น สามารถทำอันตราย
แก่ผู้ส้องเสพได้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับ
แค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกาม
ทั้งหลายมีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกาม
เหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายรู้ถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่เรากล่าว
แล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตรายแก่ท่านทั้งหลายโดยอเนกปริยาย ก็แหละ
ธรรมเหล่านั้นสามารถทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง เรากล่าวกามทั้งหลายมี
ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่
โดยยิ่ง เรากล่าวกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับ
แค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่อย่างยิ่ง ฯลฯ เรากล่าวกามทั้งหลายมีอุปมา
ด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่
อย่างยิ่ง เออก็แล อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ กล่าวตู่เรา
ขุดตนเอง และประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยทิฏฐิอันชั่ว อันตนถือ
เอาชั่วแล้ว กรรมนั้นแลจักมีแก่เธอผู้เป็นโมฆบุรุษ เพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ภิกษุทั้งหลาย เธอจักเสพกามทั้งหลาย นอกจากกาม
นอกจากกามสัญญา นอกจากกามวิตก ข้อนั้นไม่เป็นฐานะจะมีได้.

[278] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษ บางพวกในพระธรรม
วินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน
อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ โมฆบุรุษเหล่านั้น เล่าเรียนธรรม
นั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่า
นั้น ย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแห่งโมฆบุรุษเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความ
ด้วยปัญญา โมฆบุรุษเหล่านั้น ข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ หมายเปลื้องคำกล่าว
ร้ายของผู้อื่นเป็นอานิสงส์ จึงเล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียน
ธรรมเพื่อประโยชน์อันใด โมฆบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้น
แห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว ย่อมเป็น
ไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร
เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษ
ตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือ ที่แขน
หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตายหรือความทุกข์ปาง
ตาย มีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเหตุเพราะอะไร เพราะงูพิษตนจับไม่ดีแล้ว
แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย พวกโมฆบุรุษ บางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น
นั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ...อัพภูตธรรม อวทัลละ โมฆ
บุรุษเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรม
เหล่านั้น ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้นย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแห่งโมฆะบุรุษเหล่า
นั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา โมฆบุรุษเหล่านั้น หมายข่มผู้อื่น
เป็นอานิสงส์ หมายเปลื้องคำกล่าวร้ายผู้อื่นเป็นอานิสงส์ จึงเล่าเรียนธรรม
ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด โมฆบุรุษเหล่านั้น
ย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันโมฆบุรุษเหล่า

นั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว.
[279] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางพวกในพระธรรมวินัยนี้
ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ. . . อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตร
เหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น
ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแห่งกุลบุตรเหล่านั้น ผู้ไตร่-
ตรองซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้นไม่มุ่งข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์
และไม่มุ่งเปลื้องคำกล่าวร้ายผู้อื่นเป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม และกุลบุตร
เหล่านั้น ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่ง
ธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นอันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนี้เป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรม
ทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการ
งูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงกดงูพิษนั้น
ไว้มั่นด้วยไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะ ครั้นกดไว้มั่นด้วยไม้มีสัญฐานเหมือน
เท้าแพะแล้วจับที่คอไว้มั่น ถึงแม้งูพิษนั้นพึงรัดมือ แขน หรืออวัยวะใหญ่
น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง ของบุรุษนั้นด้วยขนดก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาไม่พึงถึง
ความตายหรือความทุกข์ปางตาย ซึ่งมีการพันนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเพราะ
เหตุอะไร เพราะงูพิษอันตนจับไว้มั่นแล้ว แม้ฉันใด กุลบุตรบางพวกใน
ธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา-
กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตร
เหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วย
ปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแห่งกุลบุตรเหล่านั้น ผู้ไตร่ตรอง
ซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้น ไม่มุ่งข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และ

ไม่มุ่งเปลื้องคำกล่าวร้ายของผู้อื่นเป็นอานิสงส์ จึงเล่าเรียนธรรม และกุลบุตร
เหล่านั้นย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่ง
ธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรม
ทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ถึง
เนื้อความแห่งภาษิตของเราอย่างใด พึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด ก็แล ท่าน
ทั้งหลาย ไม่พึงรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของเรา พึงสอบถามเราหรือถามภิกษุ
ผู้ฉลาดก็ได้ เราจักแสดงธรรมมีอุปมาด้วยทุ่นแก่ท่านทั้งหลาย เพื่อต้องการ
สลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการจะยึดถือ ท่านทั้งหลายจงพึงธรรมนั้น จงใส่ใจ
ไว้ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[280] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน
บุรุษผู้เดินทางไกล พบท้วงน้ำใหญ่ฝั่งข้างนี้ น่ารังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า
ฝั่งข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละ เรือหรือสะพานสำหรับข้ามเพื่อจะไปสู่
ฝั่งโน้นไม่พึงมี บุรุษนั้นพึงดำริอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่แล ฝั่งข้างนี้น่า
รังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า ฝั่งข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละเรือหรือ
สะพานสำหรับข้ามเพื่อจะไปสู่ฝั่งโน้นย่อมไม่มี ถ้ากระไร เราพึงรวบรวมหญ้า
ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นทุ่น แล้วอาศัยทุ่นนั้น พยายามด้วยมือและเท้า
พึงข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี ทีนั้นแล บุรุษนั้นรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้
และใบไม้มาผูกเป็นทุ่น อาศัยทุ่นนั้น พยายามด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่ง
โดยความสวัสดี บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งได้แล้ว พึงดำริอย่างนี้ว่า ทุ่นนี้มีอุปการะ
แก่เรามากแล เราอาศัยทุ่นนี้ พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า ข้ามถึงฝั่งได้โดยความ
สวัสดี ถ้ากระไร เรายกทุ่นนี้ขึ้นบนศีรษะ หรือแบกที่บ่า แล้วพึงหลีกไป
ตามความปรารถนา ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

บุรุษนั้นผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่าถูกหน้าที่ในทุ่นนั้นบ้างหรือหนอ. ภิกษุทั้ง
หลายกราบทูลว่า ข้อนั้นชื่อว่าทำไม่ถูก พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษนั้นกระทำอย่างไรจึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ในทุ่นนั้น. ใน
ข้อนี้ บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งแล้ว พึงดำริอย่างนี้ว่า ทุ่นนี้มีอุปการะแก่เรามากแล
เราอาศัยทุ่นนี้ พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า จึงข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี ถ้า
กระไร เราพึงยกทุ่นนี้ขึ้นวางไว้บนบก หรือให้ลอยอยู่ในน้ำแล้วพึงหลีกไป
ตามความปรารถนา ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นกระทำอย่างนี้แล จึงจะชื่อว่ากระ
ทำถูกหน้าที่ในทุ่นนั้น แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมมีอุปมาด้วยทุ่น
เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการยึดถือฉันนั้นแล เธอทั้งหลายรู้ถึง
ธรรมมีอุปมาด้วยทุ่นที่เราแสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย
จะป่วยการกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า.
[281] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งทิฐิ 6 ประการเหล่านั้น 6 ประ-
การเป็นไฉน ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาด
ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ
ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อม
พิจารณาเห็นรูปว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณา
เห็นเวทนาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็น
สัญญาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสังขาร
ทั้งหลายว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็น
รูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่
รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจว่า นั่นของเรา เราเป็น
นั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นเหตุแห่งทิฐิว่า นั้นโลก นั้นอัตตา
ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น

อัตตาของเรา ภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยาสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย
ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ เห็น
สัตบุรุษฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของ
เรา ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียง
ที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว
แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่น
ไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นเหตุแห่งทิฐิว่า นั่นโลก นั่นตน ใน
ปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่น
ไม่ใช่อัตตาของเรา พระอริยสาวกนั้นพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่สะดุ้ง ใน
เพราะสิ่งที่ไม่มีอยู่.
[282] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความพินาศแห่งบริขาร
ในภายนอก ไม่มี ความสะดุ้งพึงมีได้หรือหนอแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
พึงมีได้สิ ภิกษุ บางคนในโลกนี้มีความเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งนั้นได้มีแล้วแก่เราหนอ
สิ่งนั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ สิ่งนั้นพึงมีแก่เราหนอ เราไม่ได้สิ่งนั้นหนอ บุคคล
นั้นย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำไร คร่ำครวญ ตีอก ถึงความลุ่มหลง ภิกษุ
เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายนอกไม่มี ความสะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่าง
นี้แล ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อความพินาศแห่งบริขาร

ในภายนอกไม่มี ความไม่สะดุ้งพึงมีหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงมีสิภิกษุ
บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งนั้นได้มีแล้วแก่เราหนอ
สิ่งนั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ สิ่งนั้นพึงมีแก่เราหนอ เราจะไม่ได้สิ่งนั้นหนอ
บุคคลนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่คร่ำครวญ ตีอก ไม่ถึง
ความลุ่มหลง ดูก่อนภิกษุ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายนอกไม่มี ความ
ไม่สะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความสะดุ้งพึงมีหรือ. พระภาคเจ้าตรัส
ว่าพึงมีสิภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า นั้นโลก นั้นอัตตา
ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
จักตั้งอยู่ เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น บุคคลนั้นย่อมฟังต่อตถาคต หรือ
สาวกของตถาคตผู้แสดงธรรมอยู่ เพื่อถอนขึ้นซึ่งทิฐิ เหตุแห่งทิฐิ ความตั้ง
มั่นแห่งทิฐิ ความกลุ้มรุมด้วยทิฐิ และเชื้อแห่งความยึดมั่นทั้งหมด เพื่อระงับ
สังขารทั้งหมด เพื่อสละคืนอุปธิทั้งหมด เพื่อความสิ้นแห่งตัณหา เพื่อความ
สำรอก เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน บุคคลนั้นมีความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักขาด
สูญแน่แท้ จักฉิบหายแน่แท้ จักไม่มีแน่แท้ บุคคลนั้นย่อมเศร้าโศก ลำบาก
ร่ำไร คร่ำครวญ ตีอก ถึงความลุ่มหลง ภิกษุ เมื่อความพินาศแห่งบริขารใน
ภายในไม่มี ความสะดุ้งย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความไม่สะดุ้ง
พึงมีได้หรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พึงมีสิภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้
ไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า นั้นโลก นั้นอัตตา ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง
ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยง
อย่างนั้น บุคคลนั้นย่อมฟังต่อตถาคต หรือต่อสาวกต่อตถาคตผู้แสดงธรรมอยู่
เพื่อถอนขึ้นซึ่งทิฐิ เหตุแห่งทิฐิ ความตั้งมั่นแห่งทิฐิ ความกลุ้นรุมด้วยทิฐิ และ

เชื้อแห่งความยึดมั่นทั้งหมด เพื่อระงับสังขารทั้งหมด เพื่อสละคืนอุปธิทั้งหมด
เพื่อความสิ้นแห่งตัณหา เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน บุคคลนั้น
ไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักขาดสูญแน่แท้ จักฉิบหายแน่แท้ จักไม่มีแน่
แท้ บุคคลนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่คร่ำครวญตีอก ไม่
ถึงความลุ่มหลง เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความไม่สะดุ้งย่อม
มิได้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
[283] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงกำหนดถือเอาบริขาร
ที่หวงแหน ซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น เธอทั้งหลายเห็นบริขารที่หวงแหน ซึ่งเป็น
ของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตั้งอยู่เสมอด้วยความ
เที่ยงอย่างนั้นหรือไม่. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เราก็ไม่พิจารณาเห็นบริขาร
ที่หวงแหน ซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น. เธอทั้งหลายพึงเข้าไปยึดถืออัตตาทุปาทาน
ซึ่งเมื่อเธอยึดถืออยู่ จะพึง โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส เธอ
ทั้งหลายเห็นอัตตวาทุปาทาน ซึ่งเมื่อเธอยึดถืออยู่จะพึงไม่บังเกิด โสกะปริเทวะ
ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส หรือไม่.
ไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า.
ดีละ. ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่พิจารณาเห็นอัตตาทุปาทาน ซึ่งเมื่อ
บุคคลยึดถืออยู่จะไม่พึงบังเกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทนนัส และอุปายาส
เธอทั้งหลายพึงอาศัยทิฐินิลัย ซึ่งเมื่อเธออาศัยยึดถืออยู่จะพึงไม่บังเกิดความโสกะ
ปริเทวะ ทุกขะ โทนนัส และอุปายาส เธอทั้งหลายเห็นทิฐินิสัย ซึ่งเมื่อเธอ

อาศัยยึดถือจะพึงไม่บังเกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส หรือ
ไม่.
ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ไม่พิจารณาเห็นทิฐินิสัย ซึ่งเมื่อบุคคล
อาศัยยึดถืออยู่จะพึงไม่บังเกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส และอุปายาส.
[284] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อ
อัตตามีอยู่ บริขารที่เนื่องด้วยอัตตามีก็พึงมีว่าของเราหรือ.
ทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ตรัสว่า อนึ่ง เมื่อบริขารเนื่องด้วยอัตตามีอยู่ อัตตาพึงมีว่าของเรา
หรือ.
ทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ตรัสว่า เมื่ออัตตาและบริขารเนื่องด้วยอัตตาบุคคลถือเอาไม่ได้ โดย
ความเป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ คือเหตุแห่งทิฏฐิว่า นั้นโลก นั้น
อัตตา แม้ตายไปแล้ว เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยงยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น. นี้เป็นธรรมของคนเปล่า
บริบูรณ์สิ้นเชิงมิใช่หรือ.
ทูลว่า ข้อนี้ ไฉนจะไม่พึงเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า เป็นธรรมของ
คนเปล่าบริบูรณ์สิ้นเชิงทีเดียว.
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็น
ไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา.
ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นไฉน เวทนา. . .
สัญญา. . . สังขารทั้งหลาย. . . วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง.
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ
ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา.
ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ
ประณีต อยู่ในที่ใกล้หรือในที่ใกล้ รูปทั้งปวง เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญา
อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่
อัตตาของเรา เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง. . . สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง. . . สังขาร
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง. . . วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตอนาคต และปัจจุบัน
เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกล
หรือในที่ใกล้ วิญญาณทั้งปวง เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตาม
ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของ
เรา.
[285] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่
อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขารทั้งหลาย

ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อม
หลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติ
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ผู้มีลิ่มคือ
อวิชชาอันยกขึ้นแล้วดังนี้บ้าง ว่าผู้มีเครื่องแวดล้อมคือกัมมาภิสังขารอันรื้อเสีย
แล้วดังนี้บ้าง ว่าผู้มีเสาระเนียดคือตัณหาอันถอนขึ้นแล้วดังนี้บ้าง ว่าผู้ไม่มี
สลักประตูคือสังโยชน์ดังนี้บ้าง ว่าอริยะผู้ประเสริฐ มีธงคือมานะอันตกแล้ว
มีภาระอันตกแล้ว ไม่มีมานะแล้วดังนี้บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มี
ลิ่มคืออวิชชาอันยกขึ้นแล้วอย่างไรเล่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละอวิชชา
ที่มีรากขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ไม่มิแล้วเป็นธรรมดา ไม่บังเกิดขึ้น
ต่อไป ภิกษุเป็นผู้มีลิ่มคืออวิชชาอันยกขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้แล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีเครื่องแวดล้อมคือกัมมาภิสังขารอันรื้อเสียแล้วอย่าง
ไรเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธะรรมวินัยนี้ ละสังขารเครื่องปรุง
แต่งชาติ อันให้เกิดในภพใหม่ ที่มีรากขาดแล้วเป็นดุจตาลยอดด้วน ไม่มีแล้ว
เป็นธรรมดาอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไป ภิกษุเป็นผู้มีเครื่องแวดล้อมคือกัมมาภิ-
สังขารอันรื้อเสียแล้วด้วยอาการอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระ
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีเสาระเนียดคือตัณหาอันถอนขึ้นแล้วอย่างไรเล่า ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ละตัณหา ที่มีรากขาดแล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ไม่มีแล้ว
เป็นธรรมดาอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไป ภิกษุเป็นผู้มีเสาระเนียดคือตัณหาอันถอนขึ้น
แล้วด้วยอาการอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่มีสลักประตูคือ
สังโยชน์อย่างไรเล่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ที่มี
รากขาดแล้วเป็นดุจตาลยอดด้วน ไม่มีแล้ว เป็นธรรมดาอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไป
ภิกษุเป็นผู้ไม่มีสลักประตูคือสังโยชน์ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเป็นอริยะผู้ประเสริฐมีธงคือมานะอันตกแล้ว มีภาระอันตกแล้ว ไม่มี
มานะแล้วอย่างไรเล่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละอัสมิมานะ ที่มีรากขาด
แล้ว เป็นดุจตาลยอดด้วน ไม่มีแล้ว เป็นธรรมดาอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไป
ภิกษุเป็นอริยะผู้ประเสริฐ มีธงคือมานะอันตกแล้ว มีภาระอันตกแล้ว ไม่มี
มานะแล้วด้วยอาการอย่างนี้แล.
[286] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายทั้งพระอินทร์ ทั้งพรหม
ทั้งปชาบดิ แสวงหาภิกษุผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อนไม่พบว่า
วิญญาณของตถาคตอาศัยแล้วซึ่งที่นี้. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรียกว่าตถาคต
[บุคคลเช่นนั้น] ในปัจจุบันว่า อันใคร ๆ ไม่พบคือไม่มี สมณพราหมณ์
พวกหนึ่งกล่าวตู่เราผู้กล่าวอย่างนี้แล ผู้บอกอย่างนี้ ด้วยมุสาวาทเปล่า ๆ
อันไม่มีจริง อันไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมผู้ให้สัตว์พินาศ ย่อมบัญญัติ
ความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่มีภพแห่งสัตว์ผู้มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราไม่ทำให้สัตว์พินาศด้วยเหตุใด และไม่บัญญัติความขาดสูญแห่งสัตว์
ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็ยังกล่าวตู่เราด้วยมุสาวาทเปล่า ๆ อันไม่มีจริง
อันไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมเป็นผู้ให้สัตว์พินาศ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ
ความพินาศ ความไม่มีภพแห่งสัตว์ผู้มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อม
บัญญัติทุกข์ และความดับทุกข์ ทั้งในกาลก่อนและในกาลบัดนี้ ถ้าว่าบุคคล
เหล่าอื่นย่อมด่า บริภาส โกรธ เบียดเบียน กระทบกระเทียบตถาคต ในการ
ประกาศสัจจะ 4 ประการนั้น ตถาคตก็ไม่มีความอาฆาต ไม่มีความโทมนัส
ไม่มีจิตยินร้าย ถ้าว่าชนเหล่าอื่นย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคต
ในการประกาศสัจจะ 4 ประการนั้น ตถาคตก็ไม่มีความยินดี ไม่มีความโสมนัส
ไม่มีใจเย่อหยิ่งในปัจจัยทั้งหลายมีสักการะเป็นต้นนั้น ถ้าว่าชนเหล่าอื่น ย่อม
สักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคต ในการประกาศสัจจะ 4 ประการนั้น

ตถาคตมีความดำริ ในปัจจัยทั้งหลายมีสักการะเป็นต้นนั้นอย่างนี้ว่า สักการะ
เห็นปานนี้ บุคคลกระทำแก่เราในขันธปัญจกที่เรากำหนดรู้แล้วแต่กาลก่อน.
[287] เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าว่า ชนเล่าอื่นพึงด่า
บริภาส โกรธ เบียดเบียน กระทบกระเทียบท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่
พึงกระทำความอาฆาต ไม่พึงกระทำความโทมนัส ไม่พึงกระทำความไม่ชอบ
ใจ ในชนเหล่าอื่นนั้น เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าว่าชนเหล่าอื่น
พึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่พึงกระทำ
ความยินดี ความโสมนัส ไม่พึงกระทำความเย่อหยิ่งแห่งใจในปัจจัยทั้งหลาย
มีสักการะเป็นต้นนั้น เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าว่าชนเหล่าอื่น
สักการะ นับถือ บูชาท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงดำริ ในปัจจัยทั้งหลายมี
สักการะเป็นต้นนั้นอย่างนี้ว่า สักการะเห็นปานนี้ บุคคลกระทำแก่เราทั้งหลาย
ในขันธปัญจกที่เราทั้งหลายกำหนดรู้แล้วในกาลก่อนๆ เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุ
ทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้น
ท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอำนวยประโยชน์ สุขสิ้นกาลนาน ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สิ่งอะไรเล่า ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอำนวยประโยชน์
สุขสิ้นกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย สัญญา
ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย วิญญาณไม่ใช่-
ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นเสีย
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอำนวยประโยชน์
สุขสิ้นกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ชนพึงนำไป พึงเผาหรือ พึงกระทำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ในพระ-

วิหารเชตวันนี้ ตามความปรารถนา ท่านทั้งหลายพึงดำริอย่างนี้บ้างหรือหนอว่า
ชนย่อมนำไป ย่อมเผา หรือย่อมกระทำเราทั้งหลาย ตามความปรารถนา.
ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่านั้นไม่ใช่อัตตา หรือบริขารที่เนื่องด้วย
อัตตาของข้าพระองค์ทั้งหลาย.
อย่างนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
จงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอำนวยประโยชน์ สุขสิ้น
กาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
จงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอำนวยประโยชน์
สุขสิ้นกาลนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่ใช่
ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นเสีย
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักอำนวยประโยชน์
สุขสิ้นกาลนาน.
[288] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้
เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันต์
มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่จำต้องทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระ
ปลงลงแล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีสัญโญชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้น
แล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อจะบัญญัติต่อไป ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ
แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใดละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง 5 ประการได้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกนั้น มีการไม่กลับจาก
โลกนั้นเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้

เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใดละสัญโญชน์ 3
ประการได้แล้วกับมีราคะโทสะและโมหะบางเบา ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็น
พระสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ
แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใดละสัญโญชน์ 3 ประการได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น
ทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีปัญญา
เครื่องตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว
อย่างนี้เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใดผู้เป็น
ธัมมานุสารี เป็นสัทธานุสารี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดมีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดี
เป็นเบื้องหน้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็น
ของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว บุคคลเหล่าใดมีเพียงความเชื่อ
เพียงความรักในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีสวรรค์เป็นเบื้องหน้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น
มีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้แล.
จบอลคัททูปมสูตรที่ 2

อรรถกถาอลคัททูปมสูตร


อลคัททูปมสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในอลคัททูปมสูตรนั้นต่อไปนี้
ชนทั้งหลายเหล่าใด เบียดเบียนแร้ง เหตุนั้นชนเหล่านั้น ชื่อว่าผู้
เบียดเบียนแร้ง บรรพบุรุษผู้เบียดเบียนแร้งของผู้นั้นมีอยู่ เหตุนั้น ผู้นั้นชื่อว่ามี
บรรพบุรุษผู้เบียดเบียนแร้ง. บุตรของสกุลผู้เคยฆ่าแร้งนั้น อธิบายว่า ผู้
ขวนขวายแห่งสกุลผู้ฆ่าแร้ง. ชื่อว่าอันตรายิกธรรม เพราะทำอันตรายต่อสวรรค์
และนิพพาน. อันตรายิกธรรมเหล่านั้นมี 5 อย่าง คือ กรรม กิเลส วิบาก
อริยุปวาท และอาณาวีตกกมะ. ในอันตรายิกธรรมเหล่านั้น อนันตริยกรรม
5 ชื่อว่า กัมมนตรายิกธรรม. ภิกษุณีทูสกกรรมก็เหมือนกัน. แต่ภิกษุณีทูสก-
กรรมนั่น กระทำอันตรายต่อพระนิพพานอย่างเดียว หากระทำอันตรายต่อ
สวรรค์ไม่. ธรรมคือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคือกิเลส.
ปฏิสนธิธรรมของบัณเฑาะก์ สัตว์เดรัจฉานและอุภโตพยัญชนก ชื่อว่า อันตรา-
ยิกธรรม คือ วิบาก. ธรรม คือ การเข้าไปว่าร้ายพระอริยเจ้า ชื่อว่า อันตรา-
ยิกรรม คือ อุปวาทะ. แต่อุปวาทันตรายิกธรรมเหล่านั้น ย่อมกระทำ
อันตรายตลอดเวลาที่ยังไม่ให้พระอริยเจ้าทั้งหลายอดโทษ เบื้องหน้าแต่นั้น
ให้พระอริยเจ้าอดโทษแล้ว หากระทำอันตรายไม่. อาบัติ 7 กองที่ภิกษุจงใจ
ล่วงละเมิดแล้ว ชื่อว่า อันตรายิกธรรมคือ อาณาวีติกกมะ. แม้อาณาวีติกก-
มันตรายิกธรรมเหล่านั้น ย่อมกระทำอันตรายตลอดเวลาที่ภิกษุต้องอาบัติแล้ว
ยังปฏิญญาตนว่าเป็นภิกษุอยู่ก็ดี ไม่อยู่ปริวาสกรรมก็ดี ไม่แสดงอาบัติก็ดี
เบื้องหน้าแต่นั้น หากระทำอันตรายไม่.